เป็นหนี้รถยนต์ หนี้บัตรเครดิต แล้ว ปรับโครงสร้างหนี้ เสียประวัติไหม

ปรับโครงสร้างหนี้ เป็นสิ่งที่ใครหลายคนคิดจะทำ เพราะอยู่ๆ ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันทางการเงินเกิดขึ้น คือรายรับลดลง แต่รายจ่ายยังคงอยู่เหมือนเดิม ทำให้การจ่ายหนี้ที่เคยสร้างไว้เริ่มจ่ายไม่ไหว แต่ก่อนจะตัดสินใจปรับโครงสร้างหนี้ อยากชวนคุณมารู้จักกันก่อนครับว่า ปรับโครงสร้างหนี้คืออะไร ปรับโครงสร้างหนี้จะเสียประวัติไหม ติดบูโรกี่ปี มาหาคำตอบได้ในบทความนี้ไปพร้อมๆ กันเลยครับ

ปรับโครงสร้างหนี้ คืออะไร ปรับโครงสร้างหนี้มีผลอะไรบ้าง

ปรับโครงสร้างหนี้ คืออะไร ปรับโครงสร้างหนี้มีผลอย่างไรบ้างนะ?

ปรับโครงสร้างหนี้ คือการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ในสัญญาสินเชื่อ เลยต้องเปลี่ยนเงื่อนไขใหม่ให้เหมาะสมกับรายรับที่ลดลงหรือความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ จะได้ไม่ต้องเป็นการผิดชำระหนี้แล้วกลายเป็นหนี้เสีย NPL เพราะถ้าลูกหนี้ผิดชำระหนี้ สิ่งที่จะตามมาคือ 

  • ถูกคิดดอกเบี้ยที่ผิดนัดชำระ
  • มีประวัติเสียที่สถาบันการเงินจะส่งเข้าเครดิตบูโร  หรือ ติดเครดิตบูโร
  • ถูกฟ้องร้องจนกลายเป็นคดีความ

ดังนั้น ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเริ่มรู้ตัวแล้วว่าจะจ่ายหนี้ต่อไปไม่ไหว เพราะรายได้ลดลงไปจากเดิมแล้ว ให้รีบติดต่อเข้าไปที่สถาบันการเงินเพื่อทำเรื่องขอปรับโครงสร้างหนี้เลยนะครับ!

ปรับโครงสร้างหนี้แล้วจะเสียประวัติไหม?

อย่างที่บอกไปเลยครับว่าเมื่อทำเรื่องปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต ปรับโครงสร้างหนี้รถแล้ว สถาบันการเงินก็จะมองว่าคุณเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหวเลยมาขอปรับโครงสร้างหนี้ แน่นอนว่าจะต้องเสียประวัติดีที่เคยชำระหนี้มาก่อน ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกส่งไปบริษัทเครดิตบูโรที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลเครดิตของผู้กู้สินเชื่อ เมื่อเวลาจะขอกู้สินเชื่ออะไรอาจจะไม่ผ่าน หรือผ่านยาก เพราะมีประวัติบันทึกไว้แล้วว่าความสามารถในการจ่ายหนี้ลดลง

ปรับโครงสร้างหนี้แล้วจะติดเครดิตบูโรกี่ปี

หลายคนเข้าใจผิดว่าถ้าถูกส่งประวัติไปที่ บริษัทเครดิตบูโร จะทำให้ในอนาคตกู้สินเชื่อไม่ผ่าน หรือ ติดแบล็กลิสต์ แต่จริงๆ ไม่ใช่เลยนะครับ บริษัทเครดิตบูโรมีหน้าแค่หน้าที่จัดเก็บข้อมูลเครดิตของผู้กู้เท่านั้น โดยสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโรจะเป็นฝ่ายส่งข้อมูลหลังจากคุณทำเรื่องปรับโครงสร้างหนี้นั่นเอง ซึ่งหลังจากที่เคลียร์หนี้ที่ปรับโครงสร้างไปแล้ว คุณจะติดเครดิตบูโรไปอีก 3 ปีครับ

เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วขอปรับโครงสร้างหนี้ซ้ำได้ไหม

เรื่องนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศเอาไว้ว่า ถ้าคุณเคยทำเรื่องปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินเอาไว้แล้วก่อนที่จะกลายเป็นหนี้เสีย แต่ตอนนี้กลับจ่ายไม่ไหวแล้วกลายเป็นหนี้เสียก็ยังสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ตามเงื่อนไขของสถาบันการเงินที่ไปทำเรื่องครับ

ผ่อนรถต่อไม่ไหว รีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด ที่ไหนดี 2567

เริ่มผ่อนหนี้รถไม่ไหว แต่ไม่อยากขอ ผ่อนผันปรับโครงสร้างหนี้ ทำยังไงได้บ้าง?

ถ้าคุณที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ ผ่อนรถต่อไม่ไหว หรือจ่ายไหวอยู่แต่ถ้าได้จ่ายให้น้อยลงกว่านี้คงเป็นเรื่องดีมากๆ  แต่รู้สึกว่าไม่อยากจะปรับโครงสร้างหนี้เลย ยังมีวิธีนั่นก็คือ “การรีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด”  วิธีนี้จะช่วยคุณลดภาระทางการเงินได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นการกู้เงินก้อนใหม่มาปิดหนี้ก้อนเก่า

แต่การรีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมดก็มีเงื่อนไขที่ต้องให้ความสำคัญคือ “รถยนต์คันนั้นต้องผ่อนมาแล้วครึ่งหนึ่ง หรือ 50%” โดยคำว่า 50% ไม่ได้หมายความว่าซื้อรถยนต์มาแล้ว 5 ปีแต่ผ่อนมาแล้ว 2.5 ปี แต่หมายถึงยอดผ่อนรถต้องเกิน 50% ของยอดหนี้นั่นเอง เลยส่งผลให้คุณได้รับข้อดี ดังนี้

  • ดอกเบี้ยรถยนต์ ถูกลง เพราะเมื่อคุณผ่อนรถมาเกิน 50% ของยอดหนี้ทั้งหมด เงินก้อนใหม่ที่กู้มาก็จะถูกคิดเงินต้นล่าสุดที่คงเหลืออยู่นั่นเอง
  • ค่างวดในการผ่อนรถน้อยลง เพราะเงินต้นน้อยลงค่างวดรถในแต่ละเดือนก็จะน้อยลงตามไปด้วย
  • ระยะเวลาในการผ่อนรถนานขึ้น เลยช่วยให้การเงินไม่ตึงมืออีกต่อไป หมุนเงินคล่องขึ้นกว่าเดิม 
  • ได้รับเงินส่วนต่างที่เหลือมาหมุนเวียน อาจเก็บไว้เป็นเงินฉุกเฉิน หรือนำไปต่อยอดทางการเงินได้

ดังนั้น ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ผ่อนรถต่อไม่ไหว แล้วก็ยังไม่รู้ว่าจะรีไฟแนนซ์รถยนต์พร้อมปิดเล่มที่ไหน สามารถมาดำเนินการได้ที่ CarTrust เลยนะครับ

สรุป

การปรับโครงสร้างหนี้คือสิ่งที่สถาบันการเงินมองว่าคุณมีปัญหาทางด้านการจ่ายหนี้ เลยต้องเปลี่ยนเงื่อนไขในการจ่ายหนี้ให้เหมาะสมกับความสามารถ แน่นอนว่าการปรับโครงสร้างหนี้จะถูกส่งประวัติข้อมูลเครดิตเข้าไปที่เครดิตบูโร เมื่อชำระหนี้หมดแล้วจะต้องติดเครดิตบูโรอีก 3 ปี หลังจากนั้นถึงจะสร้างประวัติทางการเงินได้ใหม่อีกครั้ง ดังนั้น ถ้าคุณผ่อนรถต่อไม่ไหว ไม่อยากปรับโครงสร้างหนี้ ก็สามารถ รีไฟแนนซ์รถยนต์ พร้อม ปิดเล่มรถยนต์ หรือ ปิดไฟแนนซ์รถยนต์ กับ CarTrust ได้เลยครับ เรา รับปิดไฟแนนซ์รถยนต์ จะได้ไม่ต้องทำเรื่องปรับโครงสร้างหนี้ให้เสียประวัติ!


ขอบคุณข้อมูลจาก  สมาคมธนาคารไทย, ธนาคารแห่งประเทศไทย